ความเป็นมาของครู
สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า
คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา
โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ
ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี
คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา
และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย
สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์
หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์
ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า
เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ
สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ
วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน
คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้
กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ
ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก
ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี
เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ
คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า
เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ
16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี
อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู
และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
http://www.moe.go.th/PSD/Page%20Design/03_Teacher_Day/teather%20day/
การฝึกหัดครู
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน
และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม
เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้
และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา
เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา
เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ
ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูใช้ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติการสอนตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
5 ปี เป็นเวลา 1 ปีการศึกษาตามข้อกำหนดของคุรุสภา
เพื่อยกระดับมาตรฐานการฝึกหัดครูให้สูงขึ้น
โดยมุ่งหวังว่านักศึกษามีทักษะในการสอนและปฏิบัติงานในหน้าที่ครูอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในท้องถิ่นจึงจัดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขึ้น
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:Jy60998rjlgJ:edu.sru.ac.th/word56/30-11-56.docx+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th
การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่
“พัฒนาพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ในศตวรรษที่ 21
ฟันเฟืองสู่การอภิวัฒน์การศึกษาไทย”
ประเทศไทยมีการปฎิรูปการศึกษามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542
และรัฐบาลได้ทุ่มเทจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นทุกปี
หรือคิดเป็นร้อยละ 20.5 ของงบประมาณทั้งหมด
เรียกได้ว่าสูงเป็นอันดับที่สองของโลก
แต่ในทางกลับกันผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของไทยจากสถาบันวิชาการในระดับชาติและในระดับนานชาติต่างบ่งชี้ว่าคุณภาพการศึกษาของไทยตกต่ำ
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผลประเมินของประเทศไทยออกมาในลักษณะนี้เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน
และหนึ่งในนั้นคือตัวครูผู้สอนเองที่จำเป็นจะต้องพัฒนาให้การสอนเหมาะสมกับยุคสมัย
เพราะครูถือเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาของระบบการศึกษาไทยประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ในการจัดประชุมอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทยที่จัดขึ้นโดย
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้จัดเวทีอภิปรายในหัวข้อ
“การพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21”เพื่อนำไปสู่การหาแนวทาเพื่อพัฒนาครูให้เหมาะสมสำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาในประเทศไทยขึ้น
ท้ายที่สุดแล้วการพัฒนาระบบการเรียนการสอนในทศวรรษที่ 21 ให้มั่นคงและยั่งยืนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยอาจะไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะต้องรับผิดชอบหลัก
หากแต่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือในการพัฒนาเพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษานั้นเป็นประโยชน์กับเยาวชนที่จะเป็นพลังสำคัญที่จะช่วยพัฒนาชาติไทยต่อไป
http://seminar.qlf.or.th/Seminar/Topic/30
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น